ขอรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อการปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช 5 ชนิด
กลุ่มงานวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ขอรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อการปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช 5 ชนิด (รายละเอียดด้านล่าง) เพื่อขอทราบข้อคิดเห็น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้น หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใดโปรดแจ้งกลับยังสมาคมฯ ทาง admin@thasta.com เพื่อรวบรวมข้อมูลแจ้งให้ทางกลุ่มงานวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทราบต่อไป
ข้อคิดเห็น 1
ข้อคิดเห็น 2
ข้อคิดเห็น 1
ปกติเวลานำเข้าเมล็ดเมื่อตรวจเจอเชื้อไวรัสในกลุ่ม Tobamovirus กรมวิชาการเกษตรยังสามารถปล่อยได้หากเรามีการท้าทรีสเม้นด้วยสารเคมี แต่ตอนนี้มีการระบุ Tobamovirus เช่น Tomato mottle mosaic virus ใน additional declaration ของพริก แสดงว่าพริกก่อนจะส่งมาประเทศไทย ต้องตรวจสอบแล้วว่าไม่มีเชื้อนี้ แล้วหากเมื่อนําเข้ามาแล้ว DOA ของไทยตรวจเจอ ต้องทําลาย หรือส่งคืนเท่านั้น จากกฎข้อ 5 แต่หากเป็น Tobamovirus ตัวอื่น น่าจะยังคงอนุญาตให้ทำทรีสเม้นแล้วปล่อยได้?
ตรง additional declaration ระบุแค่เพียงว่า was officially tested and found free from แต่ไม่ได้ระบุว่าต้องให้ระบุเทคนิคที่ตรวจสอบด้วย แต่ในการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายใหม่ของทุกพืชระบุว่ายอมรับแค่เทคนิค PCR & Real time PCR ซึ่งเดิมยอมรับ ELISA ด้วย แต่ตอนนี้ตัด ELISA ออก แล้ว DOA จะรู้ได้อย่างไรว่า ต่างประเทศใช้วิธีการใดในการตรวจสอบมา เพราะในไฟโตจะระบุแต่เพียงว่า was officially tested and found free from
อยากรู้เหตุผลที่ DOA ตัดค่าว่า using appropriate methods เพราะเดิม จะต้องระบุว่า was officially tested using appropriate methods and found free from
ข้อคิดเห็น 2
ในกระบวนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ควบคุมบางชนิดเพื่อการค้า เช่นเมล็ดพันธุพริก ในขั้นตอนของการตรวจโรคศัตรูพืชกักกันนั้น นับตรวจสอบโรคศัตรูพืชกักกัน รวมถึงการตรวจสอบร้อยละของความงอกตามวิธีการ จนกระทั่งทราบผลของการตรวจ และแจ้งผลการตรวจให้ผู้ประกอบการทราบ รวมจนถึงการดำเนินการขั้นตอนของการตรวจปล่อยเมล็ดจนเสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลารวมทั้งหมดประมาณ ส่งผลให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสในการแข่งขัน จากความส่าช้าในการกระจายเมล็ดพันธุ์ออกไปสู่มือเกษตรกร ซึ่งเป็นผลจากการตรวจปล่อยเมล็ดจากด่านกักกันพืชที่ล่าช้า
ในกรณีนำเข้าเมล็ตตัวอย่างที่ไม่ได้นำเช้าเพื่อการค้า เช่น การนำเข้า พ่อ แม่พันธุ์เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ การนำเข้าเมล็ดตัวอย่างเพื่อการปลูกทดสอบ (Grow Out) ในขั้นสุ่มเมล็ดตัวอย่าง การนำเมล็ดตัวอย่างไปยังห้องแลปปฏิบัติการ การดำเนินการตรวจสอบโรคศัตรูพืชกักกันตามวิธีการจนกระทั่งทราบผลของการตรวจ และแจ้งผลการตรวจให้ผู้ประกอบการทราบ รวมจนถึงการดำเนินการขั้นตอนของการตรวจปล่อยเมล็ดส่งผลให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เช่นการดำเนินการปลูกทดสอบ หรือ การเรี่มดำเนินการผลิตล่าช้าไปออกไปจากที่กำหนดใว้ จากค้าต่างประเทศอาจพิจารณาถึงทางเลือกที่อาจจะลดการผลิตหรืออาจทยอยย้ายการผลิตไปยังประเทศอื่น หรือแหล่งปลูกทดสอบอื่น ที่มีซัอได้เปรียบ ด้านการนำเข้าเมล็ดพันธุที่ใช้เวลาที่น้อยกว่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการเสียโอกาสที่จะเป็น SEED HUB ของประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับปรุงด้านการนำเข้า ให้มีความรวดเร็วหรือใช้เวลาน้อย ทางภาครัฐจะมีมาตรการอย่างไรในขั้นตอนการตรวจศัตรูพืชกักกัน ตลอดจนการตรวจปล่อยเมล็ดให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
Post Views: 96